การปรับปรุงกฎหมาย ไม่เพียงแต่หน่วยงานต้นสังกัดจะเป็นผู้สำรวจตรวจสอบ หรือประชาชนจะเป็นผู้แสดงความคิดความเห็นไปสำหรับการปรับปรุงเท่านั้น แต่ยังมีหน่วยงานอยู่หน่วยงานหนึ่งที่ยังคอยสอดส่องดูแล นั่นก็คือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หากเห็นว่า กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการใด ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งยังทำให้เกิดความไม่สะดวกในการบริการประชาชน ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ และมองแล้วเป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการหรือการดำรงชีวิตของประชาชนนั้น ก็ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เสนอแนะต่อส่วนงานราชการเพื่อดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกโดยเร็ว
การปรับปรุงกฎหมาย ให้ทันสมัย ยกเลิกใช้สำเนาบัตรประชาชนติดต่อราชการ อีกหนึ่งตัวอย่างที่พอจับต้องได้
เจตนาการปรับปรุงกฎหมาย ก็เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระและความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนอันเป็นเหตุเกินสมควร ก็ควรที่จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพราะการแก้ไขกฎหมาย หรือกฎบางอย่างก็เพื่อให้ทันยุคสมัยอย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว
การปรับปรุงกฎหมาย หรือกฎ ระเบียบ คำสั่ง ข้อปฏิบัติต่างๆ ที่เห็นได้ชัดคือการยกเลิกให้ประชาชนนำสำเนาบัตรประชาชนไปติดต่อราชการ หรือเรียกง่ายๆ ว่าการยกเลิกการเรียกรับสำเนาบัตรประชาชน ของหน่วยงานรัฐนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าตอนนี้หน่วยงานราชการ ต่าง ๆ ก็ได้ปรับตัวและยกเลิกกันไปบ้างแล้ว ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของหน่วยงานเหล่านั้นด้วยว่า จะมีความพร้อมมากแค่ไหน สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แต่ประโยชน์ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จับต้องได้ในเวลานี้ การประยุกต์ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวและเชื่อมทุกอย่างนั้น จะส่งผลดีต่อประชาชนเป็นอันมาก อีกทั้งยังเป็นการปรับปรุงการทำงานของภาครัฐให้เกิดความทันสมัยสูงสุด เชื่อมโยงข้อมูลเป็นโครงข่ายที่สามารถเชื่อมถึงกันได้ทุกแพลตฟอร์ม