
พรบ.ข้อมูลข่าวสารฉบับอ่านสอบ นับว่ามีความสำคัญค่อนข้างมาก เพราะเป็นพรบ.ที่จะเกี่ยวข้องกับทุกๆ พรบ.
3. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใด อาจกระทบถึงผลประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคําคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด แต่ต้องให้เวลาอันสมควรที่ผู้นั้นอาจเสนอคำคัดค้านได้ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

พรบ.ข้อมูลข่าวสารฉบับอ่านสอบ จำคีย์เวิดร์ดการอ่านหนังสือสอบ เคล็ดลับการสอบราชการให้ติด
พรบ.ข้อมูลข่าวสารฉบับอ่านสอบ สำหรับวันนี้เรามีคีย์เวิร์ดสำหรับการอ่านสอบเพื่อให้ได้งานราชการ มาฝากกันครับ เพื่อให้จำง่ายๆ ให้จำไว้ว่า หากข้อมูลใดจะกระทบต่อผู้ใดผู้หนึ่งให้แจ้งผู้นั้นภายใน 15 วัน หรือจะจำเป็นแบบตัวอย่างที่ผมทำมาก็ได้ครับ
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่กระทบประโยชน์ได้เสีย > ให้เจ้าหน้าที่แจ้งผู้นั้น > ให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านแต่ไม่น้อยกว่า 15 วัน
4. แบ่งได้ 2 กรณีดังนี้
(1) กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคําสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
(2) มีคําสั่งไม่รับคําคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสีย
ผู้นั้นอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งนั้น โดยยื่นคําอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
“ตัวอย่างข้อสอบที่จะออก” ตัวอย่างที่ลองทำมาให้เพื่อนๆ ได้ลองทำกันครับ ถ้าถามมาแบบนี้จะตอบแบบใด ก็ให้เพื่อนลองพิจารณาดูครับ

1. ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐมีคําสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารสามารถอุทธรณ์ต่อใคร
ตอบ คณะกรรมการวินิจฉัย
2. ถ้าเจ้าหน้าของรัฐมีคําสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อใคร
ตอบ คณะกรรมการ
3. ถ้าเจ้าหน้าของรัฐมีคําสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารสามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยภายในกี่วัน
ตอบ 15 วัน