รักษาราชการแทนปลัดกระทรวง ทีนี้ทำไง กฎหมายสอบราชการเรื่องผู้รักษาราชการแทนได้บอกไว้แล้ว

รักษาราชการแทนปลัดกระทรวง

หากเราได้ทำงานอยู่ในหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งในรูปแบบของกระทรวงแล้วนั้น ปลัดกระทรวง เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งที่มีความสำคัญมากเลยทีเดียว จากบทความในครั้งก่อน เพื่อนๆ สามารถจับประเด็นได้ไหมครับว่า เนื้อหาที่ผมได้นำมาแบ่งปันนั้นจะเริ่มจากระดับสูงสุดนั่นก็คือ การรักษาราชการแทนกรณีไม่มีนายกรัฐมนตรี หากเพื่อนๆ จับจุดได้แล้ว ก็น่าจะพอมีคำตอบอยู่ในใจแล้วหละครับว่า การที่เราเน้นตัวอย่างข้อสอบนั้น เราจะเน้นจากลำดับสูงสุดไล่ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพ และสามารถนึกตามได้นั่นเองครับ ในวันนี้จะขออธิบาย การ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวง กรณีที่ไม่มีปลัดกระทรวง

รักษาราชการแทนปลัดกระทรวง

รักษาราชการแทนปลัดกระทรวง ใครต้องขึ้นต่อ แล้วถ้าไม่มีรองปลัดเลย ต้องแต่งตั้งใคร

        ปลัดกระทรวงมีความสำคัญในการบริหารงานระดับกระทรวงรองจากรัฐมนตรีประจำกระทรวง เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อไม่มีปลัดกระทรวง เราจึงต้องมีวิธีการบริหารจัดการให้มีผู้ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวง ให้เร็วที่สุดครับ

        กรณีไม่มีปลัดกระทรวง ถ้ามีรองปลัดกระทรวง 1 คน ก็แต่งตั้งให้รองปลัดกระทรวงท่านนั้น เป็นผู้รักษาราชการแทนได้เลยครับ

        แต่ถ้าเกิดว่ากระทรวงนั้นดันมีปลัดกระทรวงหลายคนจะต้องทำอย่างไรหละ ตามการบริหารราชการแผ่นดินนั้นก็ได้มีขั้นตอนไว้ให้เราเรียบร้อยแล้วครับ เราไม่ต้องไปมีส่วนเกี่ยวข้องนะ แต่ให้จำไว้ก็พอครับ

        กรณีที่มีรองปลัดกระทรวงหลายคน ให้ รัฐมนตรี ประจำกระทรวงเลือก รองปลัดกระทรวง เป็นผู้ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวง

รักษาราชการแทนปลัดกระทรวง

        แต่ถ้าแจ็คพ็อตกระทรวงนั้นดันไม่ได้แต่งตั้งรองปลัดกระทรวงไว้หละครับจะต้องทำเช่นไร ก็ขอให้เป็นหน้าที่ของ รัฐมนตรีอีกเช่นเคย แต่งตั้งข้าราชการในกระทรวง (แต่ต้องเทียบเท่าหรือไม่ต่ำกว่าระดับอธิบดี) นะครับ ถึงจะเป็นผู้ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวง ได้

        เพื่อนๆ เห็นไหมครับ งานราชการ ส่วนใหญ่จะมีระเบียบ ข้อบังคับ ที่ถูกสร้างเพื่อให้เราได้ปฏิบัติตามอยู่แล้ว ขอเพียงเราศึกษาระเบียบ ข้อกฎหมายเหล่านั้น ก็จะทำให้เรานั้นทำงานได้อย่างราบรื่นครับ