
* ใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2534 ( ราชกิจจานุเบกษา 4 กันยายน 2534 ใช้บังคับในวันถัดไป )
* มีทั้งหมด 4 ส่วน 75 มาตรา
* ผู้รักษาการตามระเบียบนี้ –> “นายกรัฐมนตรี”
* การบริหารราชการ ต้องคำนึงถึง… (รวมถึง การจัดงบประมาณ และการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรง ตำแหน่ง)
- ประโยชน์สุขของประชาชน
- 2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
- ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ
- การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น
- การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความ สะดวก
- การตอบสนองความต้องการของประชาชน
*** ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน ***
* การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้ “วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี”
* ให้มี การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ( การรวมอำนาจ Centralization )
หมายถึง การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง การวินิจฉัยสั่งการ การควบคุมทั้งประเทศ ทำให้เกิดรัฐบาล กลางขึ้น มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ มีลักษณะเด่น คือ กำลังทหาร ตำรวจ / อำนาจในการ วินิจฉัยสั่งการ / มีระบบการบังคับบัญชาตามลำดับชั้น / รัฐบาลกลางเป็นผู้กำหนดนโยบาย / อำนาจในด้าน การต่างประเทศ — > ขึ้นอยู่กับส่วนกลาง
2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ( การแบ่งอำนาจ Deconcentralization )
หมายถึง การบริหารราชการที่ส่วนกลางแบ่งอำนาจบางเรื่องให้กับตัวแทนของตนเองในส่วนภูมิภาค (ราชการส่วนกลางเป็นเจ้าของอำนาจ) โดยไม่ขาดจากการบังคับบัญชา
3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ( การกระจายอำนาจ Decentralization )
หมายถึง การโอนอำนาจการปกครองจากรัฐบาลกลาง ไปยังท้องถิ่นให้บริหารจัดการเอง ภายใต้การ กำกับดูแลจากรัฐบาลกลาง หน่วยงานที่ได้รับการกระจายอำนาจต้อง –> เป็นหน่วยงานที่เป็น “นิติบุคคล” / ต้องมีสภาและผู้บริหารท้องถิ่น / ต้องมีอิสระในการปกครองตนเอง / ต้องมีงบประมาณของตนเอง ( จากภาษี
) / มีเจ้าหน้าที่ของตนเอง
* การแบ่งราชการออกเป็นส่วนต่าง ๆ ให้กำหนดตำแหน่ง เงินเดือน — >> โดยคำนึงถึงคุณภาพ ปริมาณงาน