1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำ ใน “สำนักนายกรัฐมนตรี” กำหนดแนวทาง แผนการ ปฏิบัติราชการและลำดับความสำคัญ ให้เป็นไปตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรี
2) เป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการของส่วนราชการใน “สำนักนายกรัฐมนตรี” รองจาก นายกรัฐมนตรี ยกเว้น ข้าราชการซึ่งหัวหน้าส่วนราชการ ขึ้นตรงต่อ “นายกรัฐมนตรี”
3) เป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการของใน “สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี”
ข้าราชการทางการเมือง
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี / รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ข้าราชการพลเรือนสามัญ
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร / ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี / รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี / ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี / รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี / ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
หมวด 2 การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง
การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
1) สำนักงานรัฐมนตรี ( มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ “ราชการทางการเมือง” — เลขานุการรัฐมนตรี เป็น ผู้บังคับบัญชา)
2) สำนักงานปลัดกระทรวง ( มีฐานเป็น “กรม” )
3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออ่านอื่น ( มีฐานะเป็น “กรม” )
การจัดตั้งส่วนราชการ “เพื่อรับผิดชอบภาระหน้าที่ใดโดยเฉพาะ” ซึ่งไม่มฐานะเป็นกรม ให้ ต ราเป็ น
“พระราชกฤษฎีกา”
* การแต่งตั้ง “อธิบดี” ให้ “รัฐมนตรีเจ้าสังกัด” เป็นผู้เสนอ — > “คณะรัฐมนตรี” เพื่อพิจารณาอนุมัติ
* ในกระทรวงหนึ่งให้มี “รัฐมนตรีว่าการกระทรวง” เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการในกระทรวง ( ให้มี “เลขานุการรัฐมนตรี” และ “ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี” ข้าราชการ การเมือง )
* ในกระทรวงหนึ่งให้มี “ปลัดกระทรวง” คนหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำ ใน “กระทรวง” แปลงนโยบายเป็นแนวทาง แผนการ ปฏิบัติราชการและกำกับการทำงานของส่วนราชการ เร่งรัด ติดตาม ประเมินการปฏิบัติราชการ
2) เป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการของส่วนราชการใน “กระทรวง” รองจาก “รัฐมนตรี”
3) เป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการของใน “สำนักงานปลัดกระทรวง” ถือเป็นอธิบดีคนหนึ่ง
* กระทรวงจะออก “กฎกระทรวง” ให้ส่วนราชการระดับกรมตั้งแต่ 2 ส่วนราชการขึ้นไป อยู่ภายใต้ภารกิจ เดียวกัน อันมี หัวหน้ากลุ่มภารกิจปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารบรรณ บุคลากร การเงิน การพัสดุ หรือการ บริหารทั่วไป
(กระทรวงใดที่ มิได้ จัดให้มีกลุ่มภารกิจให้มีรองปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการเพิ่มขึ้นเป็น 2 คนก็ได้)
* กระทรวงใด มีภาระเพิ่มขั้น และ มีความจำเป็นต้องมี “รองปลัดกระทรวง” มากกว่าที่กำหนด ให้ “คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน” และ “คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ” ร่วมกันอนุมัติ เพิ่มขึ้นเป็น กรณีพิเศษ
หมวด 3 การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
* ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรวงหรือทบวง จะจัดตั้ง เป็นทบวง สังกัด “นายกรัฐมนตรี” หรือ “กระทรวง” ก็ได้
* โดยมี “รัฐมนตรีว่าการทบวง” เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบงานของทบวง
หมวด 4 การจัดระเบียบราชการในกรม
* “กรม” อาจแบ่งเป็น 1) สำนักงานเลขานุการกรม // 2) กอง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง
* “กรม” มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง
ในกรมหนึ่งให้มี “อธิบดี” เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการในกรม ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนปฏิบัติ — โดยคำนึงถึงนโยบายที่ “คณะรัฐมนตรี” แถลงไว้ต่อรัฐสภา