
* “สำนักเลขานุการกรม” มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรม ที่มิได้แยกหน้าที่เป็นของกองใด โดยเฉพาะ ให้ “เลขานุการกรม” เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติงานของ “สำนักงานเลขานุการกรม”
* กระทรวง ทบวง กรมใด มีเหตุพิเศษ จะตรา “พระราชกฤษฎีกา” แบ่งท้องถิ่นออกเป็นเขต ให้มี “หัวหน้าส่วนราชการประจำเขต” ซึ่งมีอำนาจหน้าที่รับนโยบายและคำสั่งกระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติ ทางวิชาการ
* กระทรวง ทบวง กรมใด โดยสภาพและปริมาณของงาน สมควรมี “ผู้ตรวจราชการ” นั้น ก็ให้กระทำได้ ให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการ
หมวด 5 การปฏิบัติราชการแทน
* “การมอบอำนาจ” คือ อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ ที่ผู้ดำรงตำแหน่ง มอบอำนาจให้ ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน (“การมอบอำนาจ” ต้องทำเป็น “หนังสือ”)
* “ผู้รับมอบอ านาจ” จะมอบอ านาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปอีกไม่ได้
เว้นแต่กรณี การมอบอำนาจของ “ผู้ว่าราชการจังหวัด” โดยจะกระทำได้โดยต้องได้รับความเห็นชอบจาก ผู้มอบอำนาจ
* “การมอบอำนาจ” ให้ผู้มอบอำนาจพิจารณาถึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ความรวดเร็วในการ ปฏิบัติราชการ การกระจายความรับผิดชอบ
* เมื่อมอบอำนาจแล้ว “ผู้มอบอำนาจ” มีหน้าที่กำกับติดตามผลการปฏิบัติราชการ
หมวด 6 การรักษาราชการแทน
– กรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งไม่อาจปฏิบัติราชการได้ / ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ให้ผู้รักษาราชการแทน ปฏิบัติ ราชการแทน
โดยมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ซึ่งดำรงตำแหน่ง
หมวด 7 การบริหารราชการในต่างประเทศ
“คณะผู้แทน” หมายถึง บรรดาข้าราชการฝ่ายพลเรือน / ข้าราชการฝ่ายทหารประจำการใน ต่างประเทศ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสถานเอกอัครราชทูต ( เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ) สถาน กงสุลใหญ่ ส่วนราชการของกระทรวงต่างประเทศ
“หัวหน้าคณะผู้แทน” หมายถึง ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทน ตามระเบียบพิธีการทูต
“รองหัวหน้าคณะผู้แทน” หมายถึง ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทน ตามระเบียบพิธีการทูต
ส่วนที่ 2 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การจัดระเบียบราชการส่วนภูมิภาค มี 2 ส่วน คือ “จังหวัด” และ “อำเภอ”
หมวด 1 จังหวัด
* การรวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอ ตั้งขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็น “นิติบุคคล”
* การตั้ง / ยุบ / และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็น “พระราชบัญญัติ”
* จังหวัด ให้มี อำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1) นำภารกิจของรัฐและนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์
2) ดูแลให้มีการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
3) จัดให้มีการคุ้มครอง ป้องกัน ส่งเสริม ช่วยเหลือ ประชาชน / ชุมชน ที่ด้อยโอกาสในด้านเศรษฐกิจ และสังคม
4) จัดให้มีการบริการภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเสมอหน้า รวดเร็ว และมีคุณภาพ
5) จัดให้มีการส่งเสริม สนับสนุน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือกฎหมายกำหนด