
มาตรา ๑๔ ในการจัดทำ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตามมาตรา ๑๓ ให้จัดทำเป็นแผน 4 ปี แต่ปัจจุบันเป็นแผน 5 ปี โดยให้นำนโยบายที่รัฐบาลมีการเสอนต่อรัฐสภาแล้วมาวิเคราะห์และดำเนินการให้มีสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เราเคยได้ยินและคุ้นหูกัน และแผนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ อย่างน้องต้องมีการกำหนดเป้าหมายของงานและผลความสำเร็จที่คาดหวังของานที่ได้ทำลงไป ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจนั้น ต้องจัดทำการประมาณการรายได้และรายจ่ายรวมถึงทรัพยากรต่างๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ และการกำกับติดตามและประเมินผล

แผนการบริหารราชการแผ่นดิน เปลี่ยนจากเดิมเป็นแผน 5 ปี
ข้อสอบ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ให้จัดทำเป็นแผนมีระยะเวลากี่ปี
ก. 2 ปี ค. 5 ปี
ข. 3 ปี ง. แล้วแต่คณะรัฐมนตรีจะกำหนด
เฉลย ข้อ ค.
ข้อสอบ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับสิ่งใดบ้าง
ก. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ
ข. แผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ
ค. แผนพัฒนา อปท. 4 ปี
ง. ถูกทั้ง ข้อ ก. และข้อ ข.
เฉลย ข้อ ง.

มาตรา ๑๕ เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกันจัดทำแผนนิติบัญญัติ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายที่จะต้องจัดให้มีขึ้นใหม่หรือกฎหมายที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนราชการผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ
แผนนิติบัญญัตินั้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแล้ว ให้มีผลผูกพันส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
ในกรณีที่เห็นสมควร สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำแผนนิติบัญญัติเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานก็ได้
ข้อสอบ หน่วยงานใดเป็นผู้จัดทำ “แผนนิติบัญญัติ”
ก.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ข.สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ค.ศาลรัฐธรรมนูญ
ง.ถูกทั้ง ข้อ ก. และข้อ ข.
เฉลย ข้อ ง.
อย่าลืมติดตาม สรุปกฎหมายสอบราชการ งานราชการ เปิดสอบราชการ แนวข้อสอบก.พ.63 ได้ที่เว็บเรานะครับ