Breaking News

การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร พรบ.ข้อมูลข่าวสารราชการ เตรียมสอบราชการ

การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

หมวดที่ 1 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับยุคที่มีแต่ข่าวสารเต็มไปหมด ประชาชนสามารถเข้าถึงสื่อ และข้อมูลของรัฐได้โดยง่ายยิ่งขึ้น ประกอบกับเจตนารมณ์ของกฎหมายนี้ ก็มุ่งหวังให้ประชาชนได้ทราบภารกิจของรัฐเช่นกัน

ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ในพระราชกิจจานุเบกษา

1. หน่วยงานของรัฐต้องจัดส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงพิมพ์ในราชกิจจาจุเบกษา

เป็นลักษณะข้อบังครับที่ให้ทุกหน่วยงานต้องจัดทำข้อมูลดังกล่าว

(1) โครงสร้างและการจัดการองค์กรในการดำเนินการ

ในส่วนนี้เพื่อให้ประชาชนทราบว่า ลักษณะขององค์กรนี้มีลักษณะอย่างไร มีหน่วยงานใดบ้างที่เราจะสามารถไปติดต่อได้ เพื่อให้ง่ายและประหยัดเวลาในการเข้าไปติดต่อ

(2) สรุปอำนานหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน

ส่วนนี้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก บางหน่วยงานที่ประชาชนไม่รู้จักหรือไม่คุ้นหูตามสื่อต่างๆ ไม่อาจทราบได้ว่าภารกิจของหน่วยงานราชการนั้นมีอะไร ทำอะไร เขาสามารถขอความช่วยเหลือ หรือเข้าไปติดต่อได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ บางทีหน่วยงานที่เราคิดว่าน่าจะต้องไปติดต่อที่นี่ ที่นั่นก็กลับไม่ใช่ก็เป็นได้

การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร กฎหมายสำหรับสอบราชการ สอบราชการวันนี้ สอบราชการ

(3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคําแนะนําในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ

ในส่วนนี้หน่วยงานราชการต้องจัดให้มีช่องทางการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับหน่วยงาน ยิ่งในยุคเช่นนี้ต้องประกอบไปด้วยหลายสื่อ หลายช่องทางเพื่อให้ประชาชนได้เลือกติดต่อได้สะดวกไม่ว่าจะเป็น Facebook fan page, Line Official, Instagram, Twitter ufa9999 เบอร์โทรศัพท์ อีเมล หรือแม้กระทั่งแผนที่แสดงที่ตังของหน่วยงาน

 (4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คําสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน หรือการตีความทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง

การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ข้อนี้นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก กฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ต้องประชาสัมพันธ์ให้รับรู้เป็นวงกว้างเช่นกัน ไม่เช่นนั้นแล้วจะอ้างได้ว่า ไม่รู้ ไม่ทราบ ซึ่งตรงนี้คิดว่าไม่ถูกต้องมากนัก

(5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกําหนด