Breaking News

ปัญหาสมัครสอบกพ.วันแรก


ปัญหาใหญ่วันแรกของการเปิดรับสมัครสอบก.พ. ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องสมัครสอบยากที่ต้องนักรีเฟชกด F5 กันทั้งวัน นั่งรอจนเมื่อยก้น หรือคลิกกันจนมือหงิก ตอนนี้มีปัญหาค่อนข้างที่จะใหญ่กว่านั้นก็ในเมื่อผู้สมัครสอบที่สมัครสอบเสร็จแล้ว แต่เมื่อมาตรวจสอบข้อมูลกลับพบว่าแต่ดันเป็นเรื่องที่น่ากังวลว่า ข้อมูลต่างๆ ที่กรอกไปในระบบ มีการประมวลผลผิดๆ ถูกๆเช่น

– สมัครสอบเชียงใหม่ มีข้อความแจ้งมาว่าสมัครสอบสงขลา !!

– สมัครสอบครั้งแรก มีข้อความเด้งเตือนว่าเคยสมัครสอบแล้ว !!

– เพิ่งสมัครสอบเสร็จ มีข้อความแจ้งว่าสอบผ่านแล้ว !! (กรุจะดีใจดีไหมอ่าาาาาห์)

– กรอกว่าเรียนจบรัฐศาสตร์ ข้อความขึ้นว่าจบวนศาสตร์ !!

– กรอกชื่อตัวเอง ข้อความบอกว่าสะกดผิด !! (ปัดโธ่ ใครมันจะบ้าสะกดชื่อตัวเองผิด)

ใครไม่เจอก็โชคดีไป แต่ใครเจอนี่ซวยเลย ณ ขณะนี้ก็ยังไม่รู้เลยว่าจะต้องทำหรือแก้ไขอย่างไร ? ต้นเหตุไม่น่าจะเกิดจากจำนวน user ที่มากเกินแล้วหล่ะครับ แต่ดูอาการแล้วเหมือน error มาตั้งแต่การเขียนผัง โครงสร้าง ระบบเก็บข้อมูล หากระบบปราศจากความน่าเชื่อถือแล้ว ก็เกิดข้อคำถามมากมายว่าเราจะสามารถเชื่อถือในระบบได้เพียงใดในชุดข้อสอบที่เป็น E Exam แค่กรอกข้อมูลสมัครยังพังขนาดนี้ หรืออะไรสักอย่างที่เกี่ยวกับระบบการทำงานของโปรแกรม จริงๆ มันผิดตั้งแต่แนวคิดที่จะมาจำกัดจำนวนที่นั่งสอบ จำกัดจำนวนครั้งในการเปิดสอบว่าไม่เกินเท่านั้นเท่านี้ครั้งต่อปีแล้วหละครับ พอถูกกดดันด้วยจำนวนที่นั่งที่มีจำกัด ทุกคนก็ต้องรีบแย่งกันสมัคร พอเจอระบบที่มีปัญหาเลยกลายเป็นรวนทั้งระบบ รวนกันทั้งประเทศมันคงเป็นเรื่องเล็กครับ ถ้าคิดแบบว่า “ยังไงพวกเธอก็ต้องง้อฉัน” แค่ถ้าคิดแบบข้าราชการที่ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลาง ปัญหาที่เกิดขึ้นถือว่า “ใหญ่มาก” เสียหายมากนะครับ สำหรับพี่ๆ น้องๆ ที่ต้องแย่งกันสมัคร เวลาของเขาก็มีค่าพอๆ กับเวลาของบิ๊กๆ ทั้งหลายในสัปปายะสถานนะแหละ อยากให้เช็คครับว่าระบบนี้ใช้งบในการสร้างกี่ล้านบาท เขียน TOR ไว้ว่ายังไง ใครสร้าง ใครตรวจรับ ตอนตรวจรับไม่พบความบกพร่องเลยหรือ จ่ายเงินไปกี่งวดแล้ว… โอ๊ยยยยยย เกิดคำถามมากมายในหัว ที่ไม่รู้จะไปถามใคร…. ถ้าเป็นไปได้ขยายระยะเวลารับสมัคร และเพิ่มจำนวนที่นั่ง หรือ เพิ่มจำนวนรอบการสอบเถอะครับสอบผ่านหรือไม่ผ่าน ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน แต่ “สิทธิ” ในการสมัครสอบในระบบที่มีมาตรฐาน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนที่รัฐพึงต้องจัดให้มีคุณภาพ เสมอภาค และเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ