Breaking News

พ.ร.ฎ.บ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เนื้อหาสรุป ฉบับไว้สอบราชการ

พ.ร.ฎ.บ้านเมืองที่ดี

พ.ร.ฎ.บ้านเมืองที่ดี ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นปีที่ ๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

พ.ร.ฎ.บ้านเมืองที่ดี

พ.ร.ฎ.บ้านเมืองที่ดี มีต้นกำเนิดจากกฎหมายใด ไปดูกัน

อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา ๓/๑ และมาตรา ๗๑/๑๐ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖

สวัสดีครับน้องๆ ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ นี้ เป็นกฎหมายลูกต่อเนื่องมาจาก พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ (ซึ่งปัจจุบัน แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 8 พ.ศ.๒๕๕๓ / แต่ในขณะที่ให้กาเนิด พระราชกฤษฏีกาฉบับนี้ ณ ขณะนั้น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ยังหนุ่มแน่นอยู่ ยังไม่แก่ กล่าวคือ ยังเป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕) งง มั้ยครับ ไม่งงเน๊าะ และที่สำคัญในปีนี้ ก.พ. ได้จัดให้กฎหมายฉบับนี้ได้ถูกบรรจุอยุ่ในข้อสอบด้วย เพราะฉะนั้น เราต้องมาทำความรู้จัก กฎหมายที่ใช้สอบก.พ. กันให้ครบทั้งหมดนะครับ

พ.ร.ฎ.บ้านเมืองที่ดี

ในที่นี้เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายๆ จะเรียกพระราชกฤษฎีกานี้สั้นๆว่า พ.ร.ฎ.บ้านเมืองที่ดีเป็นอันเข้าใจร่วมกันนะครับ

โดยกฎหมายฉบับนี้ได้อ้างอิงว่าถือกำเนิดมาจาก พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่เราได้เคยสรุปเนื้อหาและและมีแนวข้อสอบกันมาบ้างแล้ว ที่เราเรียนมาก่อนหน้านี้ มาตรา ๓/๑ และ มาตรา ๗๑/๑๐ (๕) ดังนั้น จึงขอพาน้องๆย้อนกลับไปดูว่า ทั้งสองมาตรานี้ บัญญัติไว้ว่าอย่างไร เพื่อเป็นการทบทวนนะครับว่าเราสามารถจำได้บ้างหรือเปล่า