Breaking News

สรุป “อนุกรม” ใช้สอบก.พ.63 มีกี่แบบอะไรบ้าง

อนุกรม

เทคนิคทำข้อสอบ “อนุกรม” เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน

อนุกรม

หลังจากที่เราศึกษาถึงอนุกรมเบื้องต้นแล้ว ว่ามีที่มาอย่างไร เราจะได้จับจุดได้ว่า การทำข้อสอบ อนุกรม ใช้สอบ ก.พ.63 นั้นเขาทำกันอย่างไร ซึ่งที่แน่ๆ จะไม่เหมือนอนุกรมสมัยที่เราเรียนมัธยมอย่างแน่นอน

        วันนี้เราจะพาทุกท่านไปพบกับ หนึ่งในรูปแบบของอนุกรม ใช้สอบ ก.พ.63 นั่นคือ อนุกรม การบวก

อนุกรมการบวก ค่าคงที่เพิ่มขึ้นที่เดาได้ไม่ยาก

อนุกรม การบวกนี้จะมีข้อสังเกตให้เราได้จับทางของข้อสอบได้คือ การเพิ่มขึ้นของตัวเลขอย่างเป็นระบบ ซึ่งถ้าเราเห็นแล้วก็พอจะเดาทางข้อสอบได้ว่า โจทย์ อนุกรม ข้อนี้จะมีลักษณะและวิธีการทำอย่างไร เราไปดูตัวอย่างกันเลยครับ

        5     11     17     23     29     ?

เมื่อเราได้โจทย์มาแล้ว ก็ต้องพยายามหาความสัมพันธ์ของตัวเลขได้เลยครับ ในที่นี่ให้เริ่มตั้งแต่การหาความสัมพันธ์ของเลข อนุกรม ชุดนี้ด้วยการลอง นำสองตัวแรกมาหาค่าความต่างกันก่อน ซึ่งเมื่อนำ 5 และ 11 มาลบกันแล้ว ผลต่างของ อนุกรม สองตัวนี้ก็คือ 6 เมื่อเราได้ 6 เป็นคำตอบ เราก็ทดไว้ในกระดาษคำถามได้เลย โดยลากเส้นลักษณะนี้ ให้ลองทำไปเลยนะครับในข้อสอบ เพราะถ้าเราไม่ลองทำเราก็จะไม่รู้ว่าเรามาถูกทางหรือเปล่า

อนุกรม

เมื่อเราทำเลข อนุกรม คู่แรกเสร็จแล้ว เราก็ทำ อนุกรม คู่ถัดไปนั่นก็คือเลข 11 และ 17 จะเห็นได้ว่าผลต่างของเลขทั้งสองนั้นก็คือ 6 อีกแล้ว เพราะฉะนั้นให้เราอนุมานไว้เบื้องต้นได้เลยว่า อนุกรม ชุดนี้ ข้อนี้จะต้องเพิ่มทีละ 6 แน่

อนุกรม

หลังจากนั้นเราก็นำเลข 17 และ 23 มาหาความแตกต่างกันอีกครั้ง ก็จะพบว่า ค่าที่เพิ่มขึ้นนั้นก็มีผลลัพธ์ 6 อีกเช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วอนุกรมชุดนี้ต้องเป็นการบวกเพิ่มค่าคงที่ ที่จะบวก 6 นั่นเอง ทีนี้เราก็ลองใส่ให้ครบทุกช่วงความสัมพันธ์ เราก็จะได้คำตอบว่า ผลลัพธ์สุดท้ายก็คือ 35 นั่นเอง

อนุกรม

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ จากตัวอย่างที่ได้ทำในวันนี้ จะไม่ยากเลยใช่ไหม อย่างไรแล้ว ก็ต้องลองทำโจทย์ในลักษณะนี้กันได้เลยครับ เพื่อความชำนาญมากยิ่งขึ้น ติดตามแนวข้อสอบได้ที่ https://limberbutt.com/ คลิ๊กเลย