Breaking News

เอกสารประวัติศาสตร์ข้อมูลข่าวสารราชการ ข้อมูลสอบราชการ กฎหมายสอบราชการ เตรียมตัวสอบราชการ

เอกสารประวัติศาสตร์ข้อมูลข่าวสารราชการ

หมวดที่ 4 เอกสารประวัติศาสตร์ข้อมูลข่าวสารราชการ

มาตรา 26 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุครบ กําหนด ให้หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้แก่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษา ค้นคว้า โดยแยกตามประเภท ดังนี้

(1) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อครบ 75 ปี (2) ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 15 เมื่อครบ 20 ปี (มี 7 ข้อ กลับไปดูหมวด 2 ได้) ข้อนี้ต้องจำให้แม่นนะครับเพราะว่าข้อสอบจะออกเยอะมาก และจะออกบ่อยมากเช่นกันครับ

หน่วยงานของรัฐเห็นว่า ข้อมูลข่าวสารของงานราชการนั้นยังไม่ควรเปิดเผยโดยมีคําสั่งขยายเวลากํากับไว้เป็น การเฉพาะรายคําสั่งการขยายเวลานั้นให้กําหนดระยะเวลาไว้ด้วย แต่จะกําหนดเกินคราวละ 5 ปี ไม่ได้

เอกสารประวัติศาสตร์ข้อมูลข่าวสารราชการ

เอกสารประวัติศาสตร์ข้อมูลข่าวสารราชการ เตรียมตัวสอบราชการ อ่านหนังสือสอบราชการ

เอกสารประวัติศาสตร์ข้อมูลข่าวสารราชการ หมวดที่ 5 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

1. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประกอบด้วย | โดยตําแหน่ง

(1) รัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน

(2) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี

(3) ปลัดกระทรวงการคลัง

(4) ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

(5) ปลัดกระทรวงการคลัง

(6) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

(7) ปลัดกระทรวงมหาดไทย

(8) ปลัดกระทรวงพาณิชย์

(9) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

(10) เลขาธิการ ก.พ.

(11) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ

(12) เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

(13) ผู้อํานวยการสํานักข่าวกรองแห่งชาติ

เอกสารประวัติศาสตร์ข้อมูลข่าวสารราชการ

(14) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ – มาจากภาครัฐและเอกชน จํานวน 9 คน –  เอกสารประวัติศาสตร์ข้อมูลข่าวสารราชการผู้ทรงคุณวุฒิมาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี – มีวาระในการดํารงตําแหน่งคราวละ 3 ปี และอาจได้รับการเลือกตั้ง

ใหม่ ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการของสํานักงานปลัดสํานัก นายกรัฐมนตรี เป็นเลขานุการ 1 คน เป็นผู้ช่วยเลขาธิการ 2 คน

เลขาฯและผู้ช่วยเลขาฯ

2. คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) สอดคล้องดูแลให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดําเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ (2) ให้คําปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

(3) เสนอแนะในการตรวจพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวง หรือระเบียบของ คณะรัฐมนตรี

(4) พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตามมาตรา 13

(5) จัดทํารายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตามความ เหมาะสมแต่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้ (7) ดําเนินการเรื่องอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

สรุป

อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการอ่านผ่านให้พอเข้าใจก็พอ เพราะไม่ค่อยออกข้อสอบ งานราชการ