Breaking News

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 4

  1. ตำแหน่งใดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมิได้กำหนดไว้

ก.  ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ข.  ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.  ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ง.  ผู้ช่วยปลัดกระทรวง

จ.  ข้อ ข. และ ง.

 

  1.  ส่วนราชการใดต่อไปนี้ ตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี

ข.  สำนักงานปลัดกระทรวง

ค.  สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี

ง.  ข้อ ก. และ ข.

จ.  ข้อ ก. และ ค.

 

  1.  การจัดตั้งสำนักนโยบายและแผน เป็นส่วนราชการภายในกระทรวง จะสามารถกระทำได้โดยวิธีใด

ก.  ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

ข.  ออกเป็นกฎกระทรวง

ค.  ออกเป็นพระราชกำหนด

ง.  ออกเป็นระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี

จ.  โดยคำสั่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัด

 

  1.  การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ตำแหน่งใดไม่ได้ถูกกำหนดไว้

ก.  ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี

ข. ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.  ผู้ช่วยปลัดกระทรวง

ง.  หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี

จ.  ข้อ ค. และ ง.

 

  1.  การกำหนดในส่วนราชการระดับกรมตั้งแต่สองกรมขึ้นไป อยู่ภายใต้กลุ่มภารกิจเดียวกัน สามารถกระทำได้ โดยอาศัยกฎหมายใด

ก.  พระราชกฤษฎีกา

ข.  ระเบียบกระทรวง

ค.  มติคณะรัฐมนตรี

ง.  เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

จ.  กฎกระทรวง

 

  1.  ในการกำหนดให้ส่วนราชการระดับกรมตั้งแต่สองกรมขึ้นไปอยู่ในกลุ่มภารกิจเดียวกันนั้น หัวหน้ากลุ่ม ภารกิจรับผิดชอบราชการและบังคับบัญชาข้าราชการ จะต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใด

ก.  รองปลัดกระทรวง

ข.  อธิบดี

ค.  ผู้ช่วยปลัดกระทรวง

ง.  ข้อ ก. และ ข.

จ.  ถูกทุกข้อ

 

  1.  การปฏิบัติราชการของ หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ขึ้นตรงต่อบุคคลใด

ก.  รัฐมนตรี

ข.  ปลัดกระทรวง

ค.  รองปลัดกระทรวง

ง.  รัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงก็ได้ แล้วแต่จะกำหนดไว้ในกฎกระทรวง

จ.  เฉพาะข้อ ข. และ ค. เท่านั้น

 

  1.  บุคคลที่มีหน้าที่ในการวางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่าง ๆ ใน กระทรวงร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ตามมติและเป้าหมายของกระทรวง ได้แก่

ก.  รัฐมนตรี

ข.  ปลัดกระทรวง

ค.  หัวหน้ากลุ่มภารกิจ

ง.  หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม

จ.  ข้อ ข. ค. และ ง.

 

  1.  ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 หากกระทรวงใดมิได้จัดให้มีกลุ่มภารกิจ     และปริมาณงานมาก จะสามารถมีรองปลัดกระทรวงได้กี่คน

ก.  1 คน

ข.  2 คน

ค.  3 คน

ง.  4 คน

จ.  เป็นไปตามที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกันอนุมัติ

  1. กระทรวงใดมีการแบ่งกลุ่มภารกิจ

ก.  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ข.  กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ค.  กระทรวงพลังงาน

ง.  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

จ.  ไม่มีข้อถูก

 

  1. กระทรวงมหาดไทยมีกลุ่มภารกิจ ดังนี้ข้อใดมิใช่

ก.  ด้านกิจการความมั่นคงภายใน

ข.  ด้านพัฒนาเมืองและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ค.  ด้านพัฒนาชุมชนและและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ง.  ด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง

จ.  ข้อ ข. และ ง