Breaking News

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 1

((ฟรีแนวข้อสอบเก่า))พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม

  1.    ข้อใดเป็นหลักการในการบริหารราชการตาม พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ก.  เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

ข.  เพื่อลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น

ค.  เพื่อกระจายอำนาจตัดสินใจ

ง.  ข้อ ก. และ ข.

จ.  ข้อ ก. , และ ค. ถูก

 

  1.    พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ 2534 ได้วางแนวทางการจัดสรรงบประมาณและการบรรจุแต่งตั้ง  บุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ. จะต้องเป็นไปตามหลักการใด

ก.  ความยุติธรรม

ข.  ความเสมอภาค

ค.  ความเท่าเทียมกัน

ง.  ความมีประสิทธิภาพ

จ.  ถูกทุกข้อ

 

  1.    การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมีรูปแบบใด

ก.  กระทรวง ทบวง กรม

ข.  จังหวัด อำเภอ

ค.  จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

ง.  ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น

จ.  ก และ ข

 

  1.    การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน ของส่วนราชการต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน   พ.ศ. 2534 จะต้องคำนึงถึง

ก.  ภารกิจที่รับผิดชอบ

ข.  ประสิทธิภาพของส่วนราชการ

ค.  คุณภาพและปริมาณของส่วนราชการนั้น ๆ

ง.  ก และ ค

จ.  ถูกทุกข้อ

 

  1.    ข้อใดเป็นการบริหารราชการส่วนกลาง

ก.  กระทรวง

ข.  ทบวง

ค.  ส่วนราชการที่ชื่อเรียกอย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม แต่ไม่ได้สังกัดกระทรวงหรือทบวง

ง.  ข้อ ก. และ ข. ถูก

 

  1.    ส่วนราชการใด ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี

ข.  ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.  กรมซึ่งไม่สังกัดกระทรวง

ง.  ข้อ ก. และข้อ ค. แล้วแต่กรณี

จ.  ทุกข้อมีฐานะเป็นนิติบุคคล

 

  1.    โดยทั่วไปการจัดการจัดตั้ง การรวม การโอน กระทรวง ทบวง กรม จะต้องตราเป็นกฎหมายในลำดับใด

ก.  พระราชบัญญัติ

ข.  พระราชกำหนด

ค.  พระราชกฤษฎีกา

ง.  กฎกระทรวง

จ.  ระเบียบกระทรวง

 

  1.    ข้อใดผิด

ก.  การโอนส่วนราชการเข้าด้วยกันถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังของส่วนราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

ข.  ให้สำนักงานข้าราชการพลเรือน และสำนักงานพัฒนาระบบราชการมีหน้าที่การตรวจสอบดูแลมิให้ส่วนราชการที่มีพระราชกฤษฎีกาให้รวมหรือโอนเข้าด้วยกัน กำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มจนกว่าจะครบสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้

ค.  การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

ง.  การยุบส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

จ.  ข้อ ข. และ ง.

 

  1.    หน่วยงานใดมีหน้าที่ในการตรวจสอบดูแล ส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ มิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบสามปี

ก.  สำนักงานพัฒนาระบบราชการ

ข.  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ค.  สำนักงบประมาณ

ง.  ข้อ ก. ข. และ ค.

จ.  ข้อ ข. และ ค.